วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นกขุนทอง

             นกขุนทอง (อังกฤษ: Common Hill Myna, ชื่อวิทยาศาสตร์: Gracula religiosa) หรือ นกเอี้ยงคำ (คำเมือง) เป็นนกในตระกูลนกเอี้ยง (Sturnidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้ มีนิสัยพูดเก่งเหมือนนกแก้ว จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นนิยมสูง
 
นกขุนทองมีชนิดย่อยทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่
  • G. r. andamanensis (Beavan, 1867) พบในเทือกเขาอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน บริเวณตรงกลางของหมู่เกาะนิโคบาร์
  • G. r. batuensis พบในเกาะบาตูและเกาะมันตาวี
  • G. r. halibrecta (Oberholser, 1926) พบในส่วนอื่นของหมู่เกาะนิโคบาร์
  • G. r. intermedia ภาคเหนือและภาคตะวันตกของอินโดนีเซียและตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียและจีนตอนใต้ (นกขุนทองเหนือ)
  • G. r. palawanensis พบในเกาะปาลาวันของฟิลิปปินส์
  • G. r. peninsularis พบในภาคกลางของอินเดีย
  • G. r. religiosa พบในภูมิภาคซุนดา (ยกเว้นเกาะซูลาเวซี) และมาเลเซียตะวันตก (นกขุนทองใต้)
  • G. r. venerata พบในภาคตะวันตกของภูมิภาคซุนดา
  • นกขุนทองมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 29 เซนติเมตรลำตัวป้อมสีดำ หางสั้น ปีกแหลมยาว เท้าแข็งแรง มีเหนียงสีเหลืองอมส้มคลุมทั่วท้ายทอยและเหนียงสีเหลืองแดงสดใต้ตา ขนาดประมาณ 29 เซนติเมตร ขนสีดำเหลือบเขียว มีเงาสีม่วงบริเวนหัวและคอ มีสีขาวแซมใต้ปีก ปากสีแดงส้ม ขาสีเหลืองสด ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน

     การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

    ถิ่นแพร่พันธ์หลักของนกขุนทองพบได้ในบริเวณโคนเทือกเขาหิมาลัย ใกล้เขตแดนอินเดีย เนปาล และภูฏาน แต่พบได้ในศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม สุมาตรา อินโดนีเซีย และบอร์เนียว และถูกนำเข้าไปอเมริกาด้วย
    นกขุนทองชอบอาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้น ที่ระดับความสูง 0 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบทุกภาคยกเว้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ G. r. intermedia และ G. r. religiosa ที่ตัวใหญ่กว่าชนิดแรก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นกขุนทองควาย"

     พฤติกรรม

    ชอบร้องเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ ร้องเป็นเสียหวีดสูงตามด้วยเสียงอื่น ๆ เคลื่อนไหวบนกิ่งโดยเน้นการกระโดดข้างแทนการเดินต่างจากนกเอี้ยงทั่วไป นกขุนทองเป็นนกที่รักความสะอาดเพราะ มักชอบอาบน้ำ ไซร้ขนหรือตกแต่งขนอยู่ตลอดเวลา ชอบทำรังอยู่บริเวณโพรงไม้เก่าๆ สูงระหว่าง 3-5 เมตร อาศัยอยู่เป็นกลุ่มประมาณ 6 ตัวขึ้นไป วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟองนกขุนทองกินทุกอย่างทั้งพืชและสัตว์ เช่นผลไม้ ลูกไม้ น้ำดอกไม้ และแมลงต่าง ๆ
    นกขุนทองนั้นมีชื่อเสียงเรื่องเสียงร้องหลากหลายชนิด ทั้งหวีด กรีดร้อง กลั้ว ร้องเป็นทำนอง รวมถึงเลียนแบบเสียงมนุษย์ ซึ่งทำได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย นกหนึ่งตัวจะมีเสียงร้องตั้งแต่ 3 ถึง 13 แบบ มีการเลียนแบบเสียงร้องกันโดยเฉพาะในเพศเดียวกัน แต่รัศมีในการเรียนรู้นี้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 15กิโลเมตรลงไป มีความเข้าใจผิดทั่วไปว่านกขุนทองนั้นชอบเลียนแบบเสียงร้องนกพันธุ์อื่น ๆ แต่ที่จริงแล้วพฤติกรรมนี้ไม่มีโดยธรรมชาติ แต่เฉพาะในสัตว์เลี้ยงเท่านั้น

     สถานะภาพ

    ในประเทศไทยนกขุนทองจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

นกหงส์หยก

     หงส์หยก  (Budgerigar) เป็นนกที่มีเหล่าเดิมอยู่ที่ทวีปออสเตรเลียโดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลียจะพบเห็นนกพวกนี้อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆในแถบโซนร้อนของประเทศ ชาวออสเตรเลียเรียกนกหงส์หยก ว่า Budgie ( บั๊ดจี้ )ซึ่งเข้าใจว่าเป็นคำย่อมาจากคำว่า Budgerigar ( บั๊ดเจอริการ์ ) ที่เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวออสเตรเลียนั่นเอง

นกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในป่าออสเตรเลีย เกาะกลุ่มอาศัยกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีสีเขียวอ่อน หรือ สีตองอ่อน มากกว่าสีอื่น ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสีของนกดั้งเดิมต่อมาได้มีการผสมพันธุ์ได้สีอื่น ๆ แปลกตา เช่นกลุ่มสีฟ้า สีเทา สีม่วง ฯลฯ

นกหงส์หยกป่าจะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูที่มีเมล็ดหญ้าอาหารของมันขึ้นดกดื่น เมื่อฤดูผสมพันธุ์สิ้นสุดลงนกหงส์หยกจะบินมารวมกันเป็นฝูงใหญ่นับร้อยนับพันตัว แล้วเดินทางข้ามป่าหญ้าอันกว้างใหญ่ไปหากินยังแหล่งอื่นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์ต่อไป
ประมาณปี ค.ศ. 1840 นกหงส์หยกป่าสีเขียวชุดแรกถูกนำไปเผยแพร่ในยุโรปรวมทั้งประเทศอังกฤษซึ้งสมัยนั้นนกหงส์หยกสร้างความตื่นเต้นชื่นชอบในหมู่นักนิยมเลี้ยงนกชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก นกหงส์หยกที่ส่งไปขายที่อังกฤษถูกผสมพันธุ์แพร่หลายเป็นผลสำเร็จ และเผยแพร่ไปในประเทศยุโรปอื่น ๆ ด้วย

สำหรับประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาปีไหน แต่เข้าใจว่าเป็นนกที่นำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ คือ พันธุ์อังกฤษ ( ตัวใหญ่ ) และพันธุ์ฮอลแลนด์ ( ตัวเล็ก )

ขั้นตอนการเลือกซื้อนก

            วิธีเลือกนกหงส์หยก คือ เลือกนกวัยรุ่นที่มีอายุประมาณ 3 - 4 เดือน หรือนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่ การจะรู้จักเลือกเฟ้น ควรแวะไปดูตามสถานที่เพาะเลี้ยงเอง และศึกษาให้เข้าใจ ซึ่งมีนกให้เลือกเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าไม๋สามารถเข้าถึงแหล่งเพาะเลี้ยงได้ ก็ให้พยายามคัดเลือกจากร้าน หรือแหล่งจำหน่ายนกที่เชื่อถือได้

การเลือกซื้อนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่
นกหงส์หยกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่จะมีสีขนที่ต่างจากนกที่โตเต็มที่ นกที่ยังเล็ก ๆ อยู่จะมีขนอ่อน มีลายไม่เข้มบนหัวและเรื่อยมาตรงด้านหน้าใกล้จงอยปาก ซึ่งต่างจากนกโต จุดที่ตรงลำคอจะเล็กและเห็นไม่ค่อยชัด ขนทั้งตัวสีไม่สดเหมือนนกที่โตแล้วการเลี้ยงนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่นี้สามารถฝึกให้นกเชื่องง่ายกว่า นกที่โตเต็มที่แล้ว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงนกไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา แต่ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากนกที่ขนยังขึ้นไม่เต็มที่นี้ยังไม่สามารถที่จะกินอาหารเองได้ ผู้เลี้ยงจึงต้องป้อนอาหารให้กับนกเอง

เวลาที่เหมาะในการซิ้อนก
เวลาที่เหมาะจะนำนกใหม่มาเลี้ยงคือ ตอนเช้า เพราะมันต้องเตรียมใจที่อยู่ในกรงใหม่ของท่าน ให้ดีก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ข้อนี้เป็นจุดสำคัญนกที่ถูกจับใส่กรงใหม่ในตอนเย็นย่อมมีความวิตกสับสนเกิดความหวาดกลัวต่อมันในช่วงกลางคืนทั้งคืน ซึ่งนกบางตัวเมื่อมีอาการแปลกที่มาก ๆ อาจทำให้มันตายได้เหมือนกัน

ข้อควรหลีกเลี่ยง
อย่าซื้อนกที่บินไม่ดี ขนที่ปีก หรือหางหลุด นกบางตัวมีโรคเกี่ยวกับขนบางชนิดที่เกิดกับนกหงส์หยกโดยเฉพาะคือ โรคขนร่วง หรือ เฟร้นซ์ มอลท์ ( French Moult ) เป็นโรคที่ทำให้ขนนกไม่เจริญเติบโตเต็มที่ หรือร่วงหลุดได้ง่ายโดยเฉพาะขนที่ปีกและหาง นกที่เป็นโรคนี้บางตัวอาจมีขนงอกขึ้นมาใหม่ได้แต่จะไม่ดีและสีไม่สวย และสุขภาพของขนไม่แข็งแรงเหมือนนกอื่น

อาหาร
นกหงส์หยกเป็นนกที่กินน้อยแต่จะกินอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงควรหมั่นตรวจดูที่ใส่อาหารอยู่เสมอว่านกกินอาหารหมดรึยังการเลี้ยงนกหงส์หยกควรให้อาหารเสริมบ้างบางครั้งเพราะจะทำให้นกแข็งมีสุขภาพดี อาหารนกมีหลายชนิด ดังนี้

เมล็ดพืชและธัญญพืช
เมล็ดพืชเป็นอาหารพื้นฐานที่สำคัญต่อนกหงส์หยก มีอาหารหลักคือ เมล็ดข้าวเดือยและข้าวฟ่างผสมกับเมล็ดข้าวชนิดอื่น ๆ ตามสัดส่วน ปัจจุบันสามารถหาซื้ออาหารกล่องหรือใส่ซองหรือถุงขายทั่วไปได้ตามท้องตลาดหรือบางท่านอาจผสมอาหารเลี้ยงนกหงส์หยกเองก็ได้ อาหารผสมที่ผสมเองควรเก็บให้มิดชิดไม่ให้อากาศเข้าจะได้ใหม่และสดเสมอ

ข้าวโอ๊ต
นกหงส์หยกส่วนใหญ่จะกินข้าวโอ๊ตทั้งเมล็ด ควรให้ข้าวโอ๊ตนาน ๆ ครั้งเพราะจะทำให้นกอ้วนมาก

แคลเซียม
ร่างกายนกต้องการแคลเซียมที่หาได้จากลิ้นปลาหมึก (กระดองปลาหมึก) ซึ่งแคลเซียมจะทำให้นกมีจงอยปากแข็งแรง และนกตัวเมียต้องการแคลเซียมเพื่อนำไปสร้างไข่ นกที่ขาดแคลเซียมเมื่อวางไข่ไข่อาจจะมีลักษณะเล็ก นิ่มและใสก็ได้ กระดองปลาหมึกสามารถหาซื้อได้ตมร้านขายอาหารนกทั่วไป

ผักสีเขียวและผลไม้
อาหารจำพวกผักสีเขียวเป็นอาหารบำรุงสุขภาพนก เช่น กะหล่ำดอก คะน้า ผักบุ้ง เป็นต้น ที่สำคัญควรล้างอาหารเหล่านี้ด้วยน้ำสะอาดก่อนเพื่อชำระสารตกค้าง อาหารอื่นเช่น ข้าวโพด และผลไม้ต่างๆ เช่นแอปเปิล

เม็ดกรวด
เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในระบบการย่อยอาหารนกจะกินกรวดขนาดเล็กปนไปกับอาหารเมื่อเมล็ดพืชและเม็ดกรวดลงไปรวมกันในกระเพาะอาหารก็จะเกิดการบดและสามารถนำไปเลี้ยงร่างกายได้ ผู้เลี้ยงอาจหาซื้อกรวดเหล่านี้ได้จากร้านขายอาหารนกได้ บางชนิดผสม granulated charcoal ซึ่งเป็นถ่านหินชนิดที่มีประโยชน์

น้ำสะอาด
นกหงส์หยกไม่ดื่มน้ำเป็นจำนวนมากๆ แต่ต้องมีน้ำดื่มสะอาด เตรียมไว้เสมอ

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างในการเลี้ยงนกหงส์หยก นั่นคือการผสมพันธุ์ ก่อนที่ท่านจะผสมพันธุ์นกของท่าน ท่านต้องตรวจดูสภาพรังหรือกรงที่เก็บนก ความสะอาด และอาหารที่ใช้เลี้ยงเตรียมให้พร้อมก่อนที่ท่านจะนำนกผสมพันธุ์

- จัดเตรียมกรงผสมพันธุ์
- เตรียมลูกมะพร้าวแห้ง หรือกล่องรังนก
- จัดอาหารให้โดยเฉพาะอาหารจำพวกแคลเซียมขาดไม่ได้เพราะนกจะนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างไข่และช่วยให้พ่อแม่พันธุ์และลูกนกมีกระดูกที่แข็งแรง
- จับพ่อแม่พันธุ์นกเข้ากรงผสมพันธุ์
วิธีสังเกตุว่านกเข้าคู่พร้อมผสมพันธุ์ คือ นกตัวผู้จะมีท่าทีลำพอง ชอบเอาปากถูคอนตอนที่เห็นตัวเมีย และจะบินมาป้อนอาหารตัวเมียถ้าตัวเมียยอมกินอาหารที่ตัวผู้นำมาป้อนและชอบไซร้ขนให้กันก็ถือว่าเข้าคู่สำเร็จ แต่ถ้าเข้าคู่แล้วทั้งคู่ไม่ปฏิกิริยาต่อกันก็ควรจะเปลี่ยนตัวเมีย หรือตัวผู้ใหม่แล้วรอดูพฤติกรรมต่อไป ในการเข้าคู่นั้นบ้างครั้งเมื่อจับคู่แล้วมันอาจจะชอบกันเลยก็ได้ แต่บางคู่ต้องใช้เวลา4-5วันถึงจะเข้าคู่ แต่บางคู่ก็ไม่ชอบกันเลยก็มี

เมื่อนกเข้าคู่แล้วนกตัวเมียจะเข้าไปสำรวจในกล่องเพาะพันธุ์อยู่ตลอดเมื่อเห็นพฤติกรรมเช่นนี้แสดงว่าอีกไม่นานนกจะผสมพันธุ์แน่นอน หลังจากที่นกผสมพันธุ์แล้วประมาณ 10 วัน นกจะวางไข่ ไข่ที่เพิ่งวางจะมีสีขาวสะอาดและจะวางไข่ใบต่อไปแบบวันเว้นวันจนครบ โดยเฉลี่ยแต่ละคอกจำนวนไข่ที่วางจะมีประมาณ 4-7ฟองบางตัวอาจมากกว่านี้ก็ได้

หลังจากวางไข่จนครบแล้ว ไข่ที่มีเชื้อและสมบูรณ์จะเป็นตัวภายใน 18 วัน ( ไข่ที่มีเชื้อจะมีลักษณะทึบแสงเมื่อส่องไฟสามารถตรวจได้ชัดเมื่อไข่อายุ 10 วันขึ้นไป ) ในระยะนี้ลูกนกจะไม่มีขนขึ้น การสวมแหวนบอกอายุวัน เดือน ปี เกิดควรใส่เมื่อนกอายุได้ 7-8วัน การสวมต้องสวมเข้าที่นิ้วที่ยาวที่สุด 3 นิ้วแล้วเลื่อนแหวนเข้าไปจนถึงขานกแล้วจึงดึงนิ้วที่อยู่ด้านหลังผ่านออกมา การสวมแหวนบอกอายุสามารถทำให้เรารู้ว่านกตัวนั้นๆเกิดจากพ่อแม่ตัวไหน รู้อายุของนก และไม่ทำให้เรานำนกที่เกิดจากพ่อแม่ตัวเดียวกันมาผสมกันเอง ( เรียกว่าผสมเลือดชิด )เพราะจะทำให้ได้ลูกนกที่ไม่แข็งแรง

ในช่วงที่พ่อแม่นกเลี้ยงลูกนี้ต้องให้อาหารสำคัญคือ ขนมปังชุบนมสดใส่จานไว้ พ่อแม่นกจะนำไปจัดการป้อนลูกของมันเอง ลูกนกจะโผล่ออกจากรังประมาณ 4 - 5 สัปดาห์ ระยะนี้ลูกนกจะมีขนดกพร้อมที่จะบินได้ แต่อย่าใจร้อนนำลูกนกแยกออกมาเพราะแม้ว่าลูกนกบางตัวสามารถเทาะเปลือกเมล็ดพืชกินเองได้แต่มันก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นควรทิ้งให้พ่อแม่นกเลี้ยงต่อไปอีกประาณ 10 วันจึงแยกลูกนกออกมาได้ แต่ก็มีนกบางคู่เมื่อลูกนกลงรังแล้วพ่อแม่นกจะทำร้ายลูกตัวเอง หรือไม่ป้อนอาหารแล้วเราควรจะจับแยกทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงควรจะสังเกตุให้ดี

หลังจากที่ลูกนกชุดแรกพ้นรังไปแม่นกจะวางไข่ชุดต่อไปทันทีตราบใดที่รังเพาะยังอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและแม่นกสุขภาพสมบูรณ์นกจะผสมพันธิ์ต่อไปเรื่อย

นกเงือก

         นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด  มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย
นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขัง ตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก

 นกเงือกในประเทศไทย

ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด ซึ่งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะหรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และ นกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง

 รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทย

นกเพนกวิน

           เพนกวิน  (Penguin) จัดอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ มีปีกแบนเอาไว้พายว่ายน้ำ ชอบกินปลา ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ให้ตัวผู้กก
Penguins (latSpheniscidae ) เป็น ครอบครัว ของ น้ำ neletećih นก, ที่อยู่ ส่วนใหญ่ ใน ซีกโลก ใต้รวมถึง หก จำพวก กับ 17 หรือ 20 สายพันธุ์, ขึ้นอยู่กับ ผู้เขียน เพนกวิน สามารถปรับตัว กับชีวิต ในน้ำ ด้วยปีก ที่มีการ พัฒนา ใน กระเพื่อมขน สีดำ บน หลัง ของพวกเขา ในขณะที่ ท้อง สีขาว อาหาร ครัสเตเชีย, ปลา, ปลาหมึก และ สัตว์น้ำ อื่น ๆ ที่ รัก ในขณะที่ ว่ายน้ำ ใต้น้ำ ใต้น้ำ ใช้ เกือบครึ่ง ชีวิต
แต่ ทุก ชนิด เพนกวิน ที่เกิด ในพื้นที่ภาคใต้ พวกเขา ไม่เพียง อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มี สภาพ อากาศ เย็น เช่น ทวิปแอนตาร์กติกาแท้จริง เพียง ไม่กี่ ชนิด ของ เพนกวิน อาศัยอยู่ ใต้ มาก หลาย ชนิด อาศัยอยู่ใน เขต หนาว และ หนึ่ง ชนิด เพนกวิน กาลาปากอส, ชีวิต ใกล้ เส้นศูนย์สูตร.


ชนิด ที่ใหญ่ที่สุดใน ชีวิต คือ เพนกวินจักรพรรดิ ตัวแทน ใหญ่ที่สุด ของ ชนิด นี้ สูงประมาณ 1.1 ฟุต และ น้ำหนัก ประมาณ 35 กก. ชนิด ที่เล็กที่สุด ของ นกเพนกวิน เป็น Little Penguinสมาชิก ใคร มี ประมาณ 40 ซม. สูง และ น้ำหนัก 1 กก. ขนาดใหญ่ ชนิด เพนกวิน inhabiting อาหารว่าง เย็น ในขณะที่ เพนกวิน น้อย จะพบ ในบริเวณ เขตร้อน ปานกลาง หรือ แม้แต่ บาง ชนิด ก่อนประวัติศาสตร์ ของ นกเพนกวิน เป็น สัดส่วน ถึง ยักษ์ สูง และ น้ำหนัก เป็น คน ผู้ใหญ่